ขั้นตอนในการออกแบบบ้าน หลายคนอาจจะไม่ทราบกันว่าจะ สร้างบ้าน ทั้งที จะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าน ต้องหาช่าง ผู้รับเหมาก่อนดี

ขั้นตอนในการออกแบบบ้าน หลายคนอาจจะไม่ทราบกันว่าจะ สร้างบ้าน ทั้งที จะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าน ต้องหาช่าง ผู้รับเหมาก่อนดี หรือต้องคุยกับสถาปนิกก่อนดี ขั้นตอนเหล่านี้ เราได้สรุปรวมมาให้หมดเเล้ว ก่อนอื่นต้องมีแบบบ้านก่อนถึงจะเริ่มต้นการสร้างบ้านได้ เรามาเริ่มต้นกันเลย

ขั้นตอนในการออกแบบบ้าน

1 บอกเล่าความต้องการ

ผู้ที่ต้องการออกแบบบ้านต้องบอกความต้องการที่อยากได้ทั้งภายในบ้าน ทั้งภายนอกบ้าน เพราะความต้องการต่างๆนั้นจะถูกนำไปปรับให้เป็นห้องต่างๆเพื่อง่ายกับการใช้ชีวิตของคนในบ้าน เช่น ลักษณะการใช้งานห้องต่างๆ สไตล์ของบ้านที่อยากจะอยู่ งบประมาณในการสร้างบ้าน ชีวิตประจำวันในการเดินภายในบ้าน การเข้าออก ขนาดของที่ดินที่จะปลูกสร้าง ขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการออกแบบต้องตกลงกับคนในบ้านทุกคนและตกผลึกความต้องการต่างๆเป็นที่เรียบร้อยเเล้ว

2 เปลี่ยนความต้องการให้เป็นภาพ

นำความต้องการของ “ผู้ต้องการออกแบบบ้าน” ทั้งหมด มาจัดลงในที่ดินของลูกค้า ปรับแต่งจนออกมาเป็นแปลนบ้าน ในขั้นตอนนี้ ผู้ออกแบบจะสอบถามความถูกต้องของต้องการของผู้ที่ต้องการออกแบบบ้าน ว่าเป็นไปตามความต้องการหรือไม่ ระยะเวลาในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

3 เปลี่ยนภาพให้เป็นบ้าน 3 มิติ

นำแปลนที่ออกแบบจัดรูปร่างหน้าตาของบ้านจนออกมาเป็นภาพ 3 มิติ ในขั้นตอนนี้ ผู้ที่ต้องการออกแบบบ้าน จะมองภาพของบ้านได้ชัดเจนขึ้นและสามารถจินตนาการการใช้ชีวิตภายในบ้านได้ ระยะเวลาในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์

4 เขียนย้านให้เป็นแบบก่อสร้าง

หลังจากที่ได้เห็นภาพ 3มิติ เเล้ว ผู้ออกแบบจะทำการเขียนแบบ ในขั้นตอนนี้ ผู้ออกแบบจะเขียนแบบสถาปัตย์ แบบคำนวณโครงสร้าง แบบสุขาภิบาล แบบระบบไฟฟ้า รวมถึงการคิดราคาค่าก่อสร้างจริงที่จะมาในรูปแบบ BOQ ซึ่งระยะเวลาในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือนตามขนาดของบ้าน

สิ่งที่คุณควรรู้ก่อนตัดสินใจสร้าง

หลักการออกแบบบ้าน เป็นสิ่งสำคัญมากก่อนการสร้างบ้านแต่ละหลังขึ้นมา ไม่ใช่ว่าจะมีแค่ที่ดิน แล้วจ้างผู้รับเหมามาก่อสร้างบ้านเพียงแค่นั้น แต่จำเป็นต้องมีการออกแบบบ้านที่ดีและรอบคอบก่อนที่จะเริ่มลงมือก่อสร้าง เพื่อให้ได้บ้านที่ตรงตามความต้องการและเหมาะสมกับเจ้าของบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงบประมาณ การคำนวณวัสดุที่จะต้องนำมาใช้ในการก่อสร้าง ระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างแต่ละขั้นตอน ตลอดจนกระทั่งเพื่อให้ได้รูปแบบของบ้านที่ชอบ และตรงตามรสนิยม เจ้าของบ้านแต่ละคน ส่วนการออกแบบบ้านนั้น

หากเจ้าของบ้านไม่ต้องการโครงสร้างบ้านที่สลับซับซ้อนมากนักก็สามารถออกแบบบ้านได้เอง แต่ถ้าเป็นบ้านที่มีความซับซ้อนหรืองานระบบเยอะๆ ก็ควรว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือสถาปนิกในการออกแบบให้มาดูแล เพียงแค่เจ้าของบ้านบอกความต้องการว่า อยากได้บ้านลักษณะไหน สถาปนิกก็จะดำเนินการให้ และสำหรับหลักการที่นำมาใช้ในการออกแบบบ้านนั้น มีเรื่องที่จะต้องคำนึงถึงและสิ่งที่คุณควรรู้ก่อน ดังต่อไปนี้

กำหนดสไตล์

จุดเริ่มต้นของการออกแบบบ้าน การเลือกสไตล์ของบ้าน จะเป็นการกำหนด ขอบเขต เป้าหมาย เพื่อให้ความฝันที่คิดไว้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยดูจากแบบบ้านตามเว็บไซต์ต่างๆ หรือเวลาไปที่ไหนแล้วพบเจอแบบที่ถูกใจก็ถ่ายรูปเก็บไว้เผื่อนำมาใช้เลือก และนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบ หรือลองนำเอามาประยุกต์กับบ้านในฝันของเราได้ ซึ่งสไตล์ของบ้านก็มีให้เลือกอยู่มากมาย เช่น ไทยประยุกต์, มินิมอล ลอฟท์ Tropical เป็นต้น

หากว่าเจ้าของบ้านมีความชอบหลายสไตล์ก็อาจจะนำหลายๆ แบบมาผสมผสานเข้าด้วยกัน อย่างละนิด อย่างละหน่อย เพื่อให้กลายเป็นสไตล์ในแบบของตนเอง ทั้งนี้ การออกแบบให้ได้สไตล์ที่ชอบจะต้องคำนึงถึงสถานที่ พิจารณาถึงความต้องการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การมีพื้นที่เพียงพอสำหรับครอบครัวหรือการอยู่อาศัยคนเดียว สิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ และชุมชนที่อาศัยอยู่รอบๆ เพื่อใช้ในการพิจารณาร่วมอยู่ด้วย

กำหนดตำแหน่ง และทิศทางลม

การออกแบบบ้านที่ดีนอกจากเรื่องความสวยงามแล้ว อีกหนึ่งสิ่งก็คือการออกแบบให้สอดคล้องกับธรรมชาติ เพื่อให้การอยู่อาศัยภายในบ้านเป็นไปอย่างเหมาะสม ดังนั้น จึงควรนึกถึงทิศทางของแสงแดด และทิศทางลม ตามหลักธรรมชาติแสงแดดจะส่องมากในทิศตะวันตกและทิศใต้

ฉะนั้น ห้องที่ต้องการแสงมากหรือห้องที่ต้องการกำจัดความชื้นจึงควรออกแบบให้หันไปทางทิศนั้น เช่น ห้องน้ำ, ห้องครัว, ห้องซักล้าง เป็นต้น ส่วนห้องที่ต้องการปริมาณแสงที่เพียงพอเหมาะ เช่น ห้องนอน, ห้องนั่งเล่น, ห้องทำงาน, ห้องดูหนัง เพราะห้องเหล่านี้ถ้ามีแสงเข้ามาเกินไปก็จะทำให้ห้องร้อนได้เช่นกัน ข้อดีของการออกแบบด้วยหลักการนี้ยังช่วยประหยัดพลังงาน เพราะถ้าบ้านมีแสงส่องสว่างเข้ามาเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องเปิดไฟในช่วงเวลากลางวัน

กำหนดขนาด

โดยเป็นการกำหนดขนาดพื้นที่ใช้สอยของแต่ละห้องลงไป ต้องการให้มีความกว้าง ยาว กี่เมตร การกำหนดขอบเขตการใช้งานของแต่ละห้องจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์หาพื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมดได้ ซึ่งผลวิเคราะห์นี้จะทำให้การออกแบบชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้รู้อีกว่าควรสร้างบ้านกี่ชั้นถึงจะเหมาะสม ควรพิจารณาและกำหนดขนาดพื้นที่ให้เหมาะสมกับความต้องการและสไตล์ชีวิตของผู้ใช้บ้าน และจำเป็นต้องคำนึงถึงจำนวนสมาชิกในครอบครัว การใช้งานแต่ละส่วนของบ้าน

กรณีที่มีที่ดินพร้อมปลูกสร้างแล้วจึงจำเป็นต้องออกแบบให้สอดคล้องกับที่ดินที่มีอยู่ แต่หากว่าคุณยังไม่ได้ซื้อที่ดิน การกำหนดขอบเขตเรื่องพื้นที่ใช้สอย จะช่วยทำให้คุณหาซื้อที่ดินได้ตามขนาดที่ต้องการ แถมยังสามารถนำไปใช้อ้างอิงกับการประมาณงบประมาณในการก่อสร้างได้ด้วย

การวางตำแหน่งของเครื่องปรับอากาศ

อย่างที่ทราบกันดีว่าด้วยสภาพภูมิอากาศประเทศเราเป็นเมืองร้อน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องติดเครื่องปรับอากาศ โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืนที่ผู้อยู่อาศัยต้องการความเย็นสบายเวลานอน การออกแบบห้องนอนจึงต้องคำนึงถึงมุมที่สามารถวางเครื่องปรับอากาศ ควรวางเครื่องปรับอากาศในตำแหน่งที่ง่ายต่อการเข้าถึง เพื่อให้สามารถทำการบำรุงรักษาและทำความสะอาดได้ง่าย หลีกเลี่ยงการวางในที่ที่มีอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวาง

ทั้งนี้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการระบายความร้อนและการหมุนเวียนอากาศอย่างเหมาะสม รวมทั้งจุดตำแหน่งของเครื่องระบายความร้อน ต้องไม่รบกวน และไม่ดูดความร้อนกลับเข้ามา หรือจะติดฉนวนกันความร้อนเพิ่มเข้าไป ก็ช่วยให้ห้องมีความเย็นสบายมากยิ่งขึ้น

ออกแบบเพื่อป้องกันเสียง

ในที่นี้หมายถึงทั้งเสียงรบกวนจากภายในบ้านและภายนอกบ้าน เช่น จากถนนหน้าบ้าน, เสียงจากข้างบ้าน ดังนั้น จึงควรออกแบบป้องกันเสียงจากที่ต่างๆ เช่น การออกแบบให้หน้าต่างกันเสียงได้, การจัดแบ่งพื้นที่การใช้งานเป็นสัดส่วน, การติดตั้งฉนวนกันเสียง, การทำกำแพงสองชั้น หรือการใช้ประตูทึบ เป็นต้น

เคล็ด ( ไม่ลับ ) ในการเขียนแบบบ้าน ให้อยู่สบาย เหมาะกับการใช้ชีวิต

การเขียนแบบบ้านเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ เพื่อให้บ้านเป็นสถานที่ที่พักผ่อนได้เป็นอย่างดีและอยู่สบาย โดยต้องคำนึงถึงความต้องการและสไตล์ชีวิตของผู้อยู่อาศัย ทั้งการให้ความสำคัญกับแต่ละพื้นที่ทั้งภายในและภายนอกบ้าน เช่น การมีพื้นที่สำหรับพักผ่อนและการทำกิจกรรมต่างๆ การมีพื้นที่ส่วนตัวที่เพียงพอ ก็ควรพิจารณาถึงความสำคัญของแต่ละห้องในบ้าน เพื่อให้เป็นที่พักผ่อนที่ดีและสอดคล้องกับสไตล์ชีวิตของครอบครัว บ้าน 2 ชั้น

นี่จึงเป็น เคล็ดลับในการเขียนแบบบ้าน เพื่อช่วยให้เราดูแลบ้านได้ง่ายๆ สบายๆ และไม่ต้องมาคอยแก้ปัญหาจุกจิกกวนใจ รวมทั้งกังวลกับสิ่งสกปรกเลอะเทอะภายในบ้าน

1 .การทำความสะอาดห้องน้ำ บางครั้งก็เสียเวลาไปเป็นชั่วโมงๆ ในการทำความสะอาด แต่ถ้าเราแบ่งขอบเขตระหว่างพื้นที่เปียกชื้นกับพื้นแห้งเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน นอกจากจะช่วยป้องกันน้ำกระเซ็นหรือพื้นลื่นแล้ว ยังเบาแรงและเวลาทำความสะอาดอีกด้วย

2 .การจัดสวน เพราะสวนช่วยสร้างบรรยากาศให้บ้านน่าอยู่สบาย และผ่อนคลายได้กับธรรมชาติ คุณสามารถปลูกพืชหรือต้นไม้ที่ไม่ต้องการดูแลมาก แทนการเลี้ยงต้นไม้ใหญ่ นอกจากนี้ยังช่วยลดอุณหภูมิในบ้านให้เย็นขึ้นด้วย

3 .การสร้างบ้านควรเลือกวัสดุตกแต่งในแต่ละส่วนของบ้าน ที่นอกจากจะสวยงามแล้ว ต้องดูแลรักษา ทำความสะอาดได้ง่ายด้วย ฉะนั้น จึงควรพิจารณาเลือกอย่างรอบคอบ รวมถึงถ้าบ้านของคุณมีพื้นที่ไม่มากนัก สามารถออกแบบพื้นที่ทุกห้องให้สามารถจัดเก็บของได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการ Built-in, ติดชั้นวางติดผนังหรือใช้ตู้ลอยติดผนัง เป็นต้น

4 .การมีซอกเล็กๆ ตามมุมบ้านเป็นปัญหาที่ทำให้บ้านดูไม่สะอาดและดูแลรักษายาก ดังนั้น การออกแบบให้บ้านมีซอกหลืบน้อยลงจะช่วยลดภาระในการทำความสะอาดบ้าน

5 .เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไอที มีบทบาทสำคัญต่อชีวิตปัจจุบัน หลายบ้านอาจเจอปัญหาปลั๊กไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงต้องลากสายปลั๊กพ่วง ทำให้ดูรกและเกิดอันตราย การออกแบบตำแหน่งปลั๊กไฟตามหลักการใช้งานจริงจะช่วยลดปัญหาในระยะยาวได้

การวางแผนพื้นที่นอกบ้านอย่างไร ให้เหมาะกับผู้สูงอายุ

หากครอบครัวของคุณมีผู้สูงอายุร่วมอาศัยอยู่ด้วย ในการออกแบบบ้านการคำนึงถึงผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เนื่องจากความต้องการและความสะดวกสบายของผู้สูงอายุต่างกับผู้อื่น การออกแบบจึงต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เช่น ภายในบ้านที่ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยและปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวก หรือ การวางแผนปรับเปลี่ยนและเตรียมพื้นที่ภายนอก

ก็เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งในการรองรับผู้สูงอายุ และช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบาย อย่างไรก็ตาม การเตรียมพื้นที่ภายนอกเพื่อรองรับผู้สูงอายุ ยังทำให้ผู้สูงอายุมีพื้นที่ไว้สร้างความสุขและผ่อนคลายกับชีวิตของพวกเขาได้อีกด้วย

1 .พื้นที่สวนนอกบ้าน เป็นที่ที่ผู้สูงอายุสามารถใช้เวลาว่างในการทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การเดินเล่นและออกกำลังกาย การทำสวน การเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ควรปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะสม อย่างทางเดินควรเป็นทางเรียบ ยาว และไม่มีสิ่งกีดขวาง

2 .รั้วรอบบ้าน ต้องมีความทนทานและคงทน หากเป็นบ้านที่มีผู้สูงอายุอาศัยอยู่ด้วย ควรออกแบบรั้วเพื่อให้สามารถมองเห็นจากภายนอกได้ นอกจากนั้นอาจติดกล้องวงจรปิดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบริเวณโดยรอบด้วย

3 .บริเวณทางเข้าบ้าน แนะนำให้ใช้ทางลาดแทนการใช้บันได มีจุดพักหรือชานพักเพิ่มเติม หากจำเป็นต้องใช้บันได ก็ควรออกแบบให้เหมาะสม และมีราวจับที่มั่นคงแข็งแรงยึดเอาไว้

4 .ทางเดินรอบบ้าน และพื้นที่อื่นๆ เช่น ลานทางเดิน ชานบ้าน ระเบียง หรือเฉลียงบ้าน ควรทำให้เป็นพื้นระดับเดียวกัน มีความเรียบสม่ำเสมอกันทั้งผืน และควรเลือกใช้วัสดุพื้นที่ไม่ลื่นและช่วยลดแรงกระแทกได้ ติดตั้งราวจับทรงตัวในพื้นที่ต่างระดับ และติดตั้งแสงสว่างให้ทั่วถึง

การเขียนแบบบ้านให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยมีความสำคัญอย่างมาก และต้องสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันด้วย โดยต้องคำนึงถึงความสำคัญของแต่ละส่วนของบ้าน และประโยชน์ในการใช้สอยแต่ละพื้นที่ให้มีความสะดวกสบาย